รวมข่าวมวย หมัดเด็ด ทั้งมวยไทย และ มวยสากล อัพเดตทุกโปรแกรมการแข่งขันมวย สดใหม่ ทุกวัน พร้อมผลมวยล่าสุด แฟนมวยห้ามพลาด

ประวัติเขาทราย กาแล็คซี่


             เขาทราย แกแล็คซี่ (อังกฤษ: Khaosai Galaxy) เป็นอดีตนักมวยแชมเปี้ยนโลกชาวไทย รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท (115 ปอนด์) ของ สมาคมมวยโลก (WBA) เป็นแชมป์โลกคนที่ 9 ของไทย มีชื่อจริงว่า สุระ แสนคำ ได้รับฉายาว่า "ซ้ายทะลวงไส้" นอกจากนี้แล้ว เขาทรายยังมีพี่ชายฝาแฝด ซึ่งเป็น อดีตแชมป์โลกเช่นเดียวกันคือ เขาค้อ แกแล็คซี่ อดีตแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวท WBA โดยมีระยะเวลาที่เป็นแชมป์โลกคู่กัน ซึ่งทำให้นับเป็นแชมป์โลกคู่แฝดรายแรกของโลกอีกด้วย
              หลังครองตำแหน่งเขาทรายสามารถป้องกันตำแหน่งได้ถึง 19 ครั้งติดต่อกัน นับเป็นสถิติโลกสูงสุด ในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทถึงปัจจุบัน และเป็นสถิติสูงสุดอันดับ 3 ในการป้องกันแชมป์โลกทุกรุ่นในขณะนั้น มีสถิติป้องกันตำแหน่งโดยชนะน็อค 16 ครั้ง ชนะคะแนนเพียง 3 ครั้ง และได้ประกาศแขวนนวมในฐานะ แชมป์โลกผู้ไม่เคยแพ้ใคร ตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่ง 2,628 วัน หรือ 7 ปี 2 เดือน 30 วัน
             ในปี พ.ศ. 2542 เขาทรายได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ "World Boxing Hall of Fame" จากสมาคมมวยโลก โดยได้รับการบรรจุชื่อในหอเกียรติยศนักมวยโลก ณ เมืองคานาสโตต้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยสถิติการชก 50 ครั้ง ชนะ 49 ครั้ง โดยชนะน็อคถึง 43 ครั้ง คิดเป็นสถิติชนะด้วยการน็อคเอ้าท์ถึง ร้อยละ 87.75 และเคยแพ้คะแนนเพียงครั้งเดียว การชนะน็อคถึง 43 ครั้ง ยังนับเป็นสถิติโลกสูงสุด ในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท (ซูเปอร์ฟลายเวท) จนถึงปัจจุบันอีกด้วย
       เขาทรายเป็นบุตรของนายขัน แสนคำ และนางคำ แสนคำ เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ที่หมู่บ้านเฉลียงลับตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเฉลียงลับวิทยา ชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนประสิทธิวิทยา และระดับอาชีวศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนเทคนิคเพชรบูรณ์
         ด.ช.สุระ แสนคำ เริ่มหัดชกมวยไทยครั้งแรกกับ ครูปราการ วรศิริ ขณะมีอายุได้ 14 ปี ด้วยน้ำหนักตัว 40 ปอนด์ ขึ้นชกมวยไทยอาชีพครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ใช้ชื่อว่า "ดาวเด่น เมืองศรีเทพ" โดยมี ครูมานะ พรหมประสิทธิ์ เป็นเทรนเนอร์ ตระเวนชกในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีปัญหาในการชกมวยไทยเนื่องจากเสียเปรียบความสูง ทำให้ต้องลดน้ำหนักมากเพื่อชกกับมวยรุ่นเล็กกว่า เป็นสาเหตุให้หลายครั้งหมดแรงไม่สามารถชกมวยไทยได้ดีเท่าที่ควร
           ในการชกมวยไทยอาชีพครั้งสุดท้ายกับ กังสดาล ส.ประทีป ต้องคุมน้ำหนักเพื่อชกในพิกัดรุ่น 108 ปอนด์ ทั้งที่ขนาดร่างกายต้องอยู่รุ่น 118 ปอนด์ แต่เพราะตัวเตี้ยเสียเปรียบจึงต้องชกในรุ่นต่ำกว่าเพื่อให้ได้คู่ชกที่ความสูงใกล้เคียงกัน การลดน้ำหนักครั้งนั้นทำให้หมดแรงและแพ้คะแนนขาดลอย นับเป็นการชกที่เจ็บตัวที่สุดในชีวิต แม้จะมีปัญหาเรื่องความสูงและต้องลดน้ำหนักอยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสถิติการชกมวยไทยดีพอสมควรเนื่องจากพลังหมัดที่หนักหน่วง จากการชกมวยไทยรวม 54 ครั้ง สามารถชนะ 43 ครั้ง (น็อค 30 ครั้ง) แพ้ 8 ครั้ง และเสมอ 3 ครั้ง
         หลังการชกกับ กังสดาล ส.ประทีป นิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์ (แชแม้) โปรโมเตอร์ชื่อดังที่ชักชวนให้มาชกที่กรุงเทพฯ ในชื่อ "เขาทราย วังชมภู" (ต่อมาเปลี่ยนชื่อหลังตามชื่อค่ายว่า "แกแล็คซี่" ซึ่งเป็นชื่อกิจการของนักธุรกิจชื่อดังคือ นายอมร อภิธนาคุณ) ได้สนับสนุนให้เขาทรายเปลี่ยนมาชกมวยสากลอาชีพ นับเป็นการเริ่มต้นตำนานแชมป์โลกของ เขาทราย แกแล็กซี่
ชีวิตการชก มวยไทย ของเขาทราย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนได้รับการปรามาส จากแฟนมวยว่า "เขาควาย" จึงเบนเข็มมาชกมวยสากล โดยฝึกมวยสากลจาก "ครูเฒ่า-ชนะ ทรัพย์แก้ว" และ "เกา คิม หลิน-ทวิช จาติกวณิช" และเมื่อเป็นแชมป์โลกเปลี่ยนมาเป็น "โกฮง-พงษ์ ถาวรวิวัฒน์บุตร"
            เมื่อเปลี่ยนมาชกมวยสากลเขาทรายสามารถชนะน็อค ด้วยหมัดซ้ายติดต่อกัน 5 ครั้ง ชนะคะแนนอีก 1 ครั้ง เขาทรายมีโอกาสได้ขึ้นชิงแชมป์เวทีราชดำเนินรุ่นแบนตั้มเวทกับศักดา ศักดิ์สุรีย์ แชมป์ในขณะนั้น เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ก่อนการชก ทุกฝ่ายมั่นใจว่าเขาทรายน่าจะเป็นฝ่ายชนะน็อคได้ไม่ยาก เพราะศักดาน้ำหนักเกินรุ่นแบนตั้มเวทไปมาก ถึงวันชั่งน้ำหนักยังต้องอบตัวและออกวิ่งกว่าจะทำน้ำหนักตามพิกัดได้ เมื่อขึ้นเวทีชกกันจริงๆ ปรากฏว่าเขาทรายเข้าไม่ติด ไม่สามารถใช้หมัดซ้ายชกศักดาได้จังๆเพราะเสียเปรียบช่วงชกมาก ศักดาใช้ช่วงชกที่ได้เปรียบชกทำคะแนนนำไปก่อนแม้จะอ่อนแรงในยกท้ายๆและถูกเขาทรายต่อยจนแตกทั้งสองคิ้ว เมื่อเขาทรายชกศักดาลงไปให้กรรมการนับสิบไม่ได้ ครบสิบยก ศักดาจึงเป็นฝ่ายชนะคะแนนไป 

             หลังจากชกแพ้ในครั้งนั้น นิวัฒน์ผู้จัดการจัดให้เขาทรายชกกับทสึกูยูกิ โตฟา นักมวยสากลชาวญี่ปุ่นเป็นการแก้หน้าในครั้งต่อมา ซึ่งเขาทรายเป็นฝ่ายชนะน็อคได้ในยกที่ 4 และในการชกครั้งต่อมาเขาทรายชนะน็อก ศักดิ์สมัย ช.ศิริรัตน์ ได้ครองแชมป์ แบนตั้มเวท เวทีมวยราชดำเนิน ที่ว่างอยู่เนื่องจากศักดาสละแชมป์ไป และนับจากชกชนะทสึกูยูกิ เขาทรายไม่เคยแพ้ใครอีกเลยจนได้ชิงแชมป์โลก
         หลังได้ครองแชมป์แบนตั้มเวท ราชดำเนิน เขาทรายลดรุ่นลงมาชกในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท สามารถชกชนะติดต่อกัน 17 ครั้ง โดยเป็นการชนะน็อคถึง 15 ครั้ง รวมทั้งชนะน็อค วิลลี่ เจนเซ่น รองแชมป์โลกจูเนียร์แบนตั้มเวท ได้ขึ้นชิงแชมเปี้ยนโลก รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทที่ว่างลง ของสมาคมมวยโลก(WBA) กับ ยูเซปีโอ เอสปีนัล นักชกชาวโดมินิกัน ที่เวทีมวยราชดำเนิน และสามารถชนะน็อคได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนโลก เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 และยังทำสถิติป้องกันแชมป์ได้ติดต่อกันถึง 19 ครั้ง มากที่สุดของทวีปเอเชีย โดยทำลายสถิติเดิมของ ชาง จุงกู นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ ที่ป้องกันได้ 15 ครั้ง และเป็นสถิติโลก ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์) ด้วย เทียบเท่ากับ ยูเซปิโอ เปรโดซ่า อดีตแชมป์โลก รุ่นเฟเธอร์เวท WBA ที่ทำสถิติป้องกันแชมป์เอาไว้ถึง 19 ครั้งเท่ากัน โดยเขาทรายทำสถิติการชกไว้ทั้งหมด 50 ครั้ง ชนะ 49 ครั้ง โดยชนะน็อกถึง 43 ครั้ง แพ้คะแนนเพียง 1 ครั้ง และในการป้องกันแชมป์ 19 ครั้ง เป็นการชนะน็อกถึง 16 ครั้ง มีเพียง 3 ครั้งที่ชนะคะแนน
            เขาทราย แกแล็คซี่ นับว่าเป็นนักมวยที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดกาล ในสมัยที่ยังชกมวยอยู่ ได้รับฉายาจากแฟนมวยว่า "ซ้ายทะลวงไส้" จากหมัดซ้ายที่หนักหน่วง และการชกลำตัวที่ยอดเยี่ยม เป็นนักมวยที่ไปชกป้องกันตำแหน่งนอกประเทศหลายครั้ง รวมทั้งเคยป้องกันกับนักมวยชาวไทยด้วยกัน คือ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ และแทบทุกครั้งของการชก เขาทรายจะได้รับชัยชนะอย่างงดงาม ความนิยมในตัวเขาทรายมีถึงขนาดที่ว่า เมื่อใดที่เขาทรายชก ถนนในกรุงเทพฯจะว่าง เพราะทุกคนรีบกลับบ้านไปดูเขาทราย
หลังแขวนนวม เขาทรายออกอัลบั้มเพลงมาชุดหนึ่ง เพื่อเป็นการขอบคุณแฟน ๆ ที่ให้การสนับสนุน ชื่อชุด "ขอบคุณครับ" และมีพิธีมงคลสมรส กับหญิงสาวชาวญี่ปุ่น "ยูมิโกะ โอตะ" ที่พบกันในการป้องกันตำแหน่งที่นั่นโดยมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 แต่ได้หย่าขาดกันในเวลาต่อมา โดยเขาทรายให้เหตุผลว่า เพราะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมแตกต่างกัน
 
             เขาทรายสมรสครั้งที่ 2 กับ นางสุรีรัตน์ แสนคำ (นามสกุลเดิม: นิเวศน์รัมย์, ชื่อเล่น: ฟ้า) ซึ่งเป็นชาวบุรีรัมย์ ทั้งคู่มีบ้านพักที่ซอยนวลจันทร์ 54 ถนนรามอินทรา เขตบึงกุ่ม ทั้งคู่อยู่กินกันมานานกว่า 20 ปี โดยที่ไม่มีลูกด้วยกัน ซึ่งนางสุรีรัตน์ได้นำลูกชายของน้องชายมาเลี้ยงดูไว้เสมือนลูก แต่ต่อมาในระยะหลัง ทั้งคู่เกิดมีปัญหาระหองระแหงกัน ซึ่งในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2556 เขาทรายได้สมรสอย่างกะทันหันเป็นครั้งที่ 3 กับเจ้าสาวซึ่งเป็นชาวนครศรีธรรมราช ที่อายุห่างกันหลายปี โดยที่นางสุรีรัตน์ ภรรยาคนเก่าไม่ทราบมาก่อนและยังไม่ได้เลิกรากันอย่างเป็นทางการ แต่ในที่สุดก็สามารถตกลงกันได้ด้วยดี โดยเขาทรายเลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่กับภรรยาคนใหม่ และจ่ายค่าเลี้ยงดูภรรยาคนเก่าและบุตรบุญธรรมเป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาทด้วยการผ่อนส่ง 

              เขาทรายมีกิจการร้านหมูกระทะ โต๊ะสนุกเกอร์ หลังคารถกระบะ และกิจการค้าขายทางด้านเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรที่จังหวัดสระบุรี งานอดิเรกของเขาทรายในยามว่าง คือ การปลูกผักสวนครัวเพื่อรับประทานเองในครอบครัว ไว้ในที่ดินที่บ้านพัก  และรับงานแสดงในวงการบันเทิงในฐานะตัวประกอบเป็นครั้งคราวด้วย อาทิ มนต์รักลูกทุ่ง ทางช่อง ในปี พ.ศ. 2538, นายขนมต้ม ทางช่องเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2539, สุริโยไท ในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้น
             ส่วนในวงการมวย ยังทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ให้กับนักมวยในสังกัดของนิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์ อดีตผู้จัดการบ้างเป็นครั้งคราว เช่น เด่นเก้าแสน กระทิงแดงยิม และ พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม เป็นต้น
                ในทางการเมือง เขาทรายเข้าเป็นสมาชิก พรรคเพื่อแผ่นดิน และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 3 กลุ่มจังหวัดที่ 2 ของพรรคเพื่อแผ่นดิน ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
               ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เขาทรายได้ย้ายไปอยู่กับพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมกับเพื่อนนักมวยอีก 3 คน คือสมรักษ์ คำสิงห์มนัส บุญจำนงค์ และเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง โดยในครั้งนี้เขาทรายได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นบ้านเกิด แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนไปทั้งสิ้น 8,485 คะแนน
 
             ทางด้านการเรียน การศึกษา หลังแขวนนวมแล้ว เขาทรายได้เริ่มต้นศึกษาใหม่ โดยการไปสมัครเรียนในหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนทั้งหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จนกระทั่งจบ และได้เข้าศึกษาต่อคณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา จนกระทั่งจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2555 

               เขาทราย เป็นนักมวยที่ได้รับการกล่าวขานมาก จนอาจเรียกว่าเป็นนักกีฬาชาวไทยที่ได้รับเกียรติยศมากที่สุดก็ว่าได้ เช่น ได้รับรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมหลายครั้ง ได้รับการยกย่องจากหลายวงการไม่เฉพาะวงการกีฬา ได้รับการบรรจุชื่อในหอเกียรติยศ (Hall of Fame) ของ WBA ในปี พ.ศ. 2542, ในหอเกียรติยศในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กีฬาไทยของการกีฬาแห่งประเทศไทย และได้รางวัลนักกีฬาขวัญใจมหาชน จากการโหวตของแฟนกีฬาชาวไทยของบริษัทสยามสปอร์ต จำกัด ในปี พ.ศ. 2550 ทั้งที่เขาทรายแขวนนวมไปแล้วเกือบ 20 ปี
 
                 และในปี พ.ศ. 2554 ได้ยการยกย่องให้เป็นสุดยอดนักมวยแห่งรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท หรือ 112 ปอนด์ ตลอดกาล ของ WBA

อีกทั้งยังเป็นนักมวยรายแรกด้วย ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ ประเพณีการมอบทองและของรางวัล ก่อนการชกบนเวที ซึ่งเริ่มมาจาก การป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 9 ที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยครั้งนั้นมีนายวัฒนา อัศวเหม เป็นประธานจัด ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มของการจัดชกมวยของนักการเมืองด้วย
ประวัติการชกมวยสากลอาชีพ



           เขาทรายในปัจจุบันเป็นแชมป์ประเทศไทยรุ่นแบนตัมเวท โดยชนะน็อคยก ศักดิ์สมัย ช.ศิริรัตน์ : 25 ม.ค. 2525เป็นแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท WBA 21 พ.ย. 2527 โดยชนะน็อกยก ยูเซบิโอ เอสปินัล ( สาธารณรัฐโดมินิกัน) ที่ เวทีมวยราชดำเนิน  : (เป็นการแพ้น็อกเพียงครั้งเดียวในชีวิตการชกของ เอสปินัล)
การชกป้องกันตำแหน่ง 19 ครั้ง

การแข่งขันมวย ครั้งที่ 1 : 6 มี.ค. 2528 ชนะน็อกยก ดอง ฮุน ลี ( เกาหลีใต้) ที่ เวทีมวยราชดำเนิน : (ดอง ฮุน ลี แพ้น็อกครั้งแรกในชีวิตการชก)

การแข่งขันมวย ครั้งที่ 2 : 17 ก.ค. 2528 ชนะน็อกยก ราฟาเอล โอโรโน่ ( เวเนซุเอลา) ที่ เวทีมวยราชดำเนิน : 

การแข่งขันมวย ครั้งที่ 3 : 23 ธ.ค. 2528 ชนะน็อกยก เอ็ดการ์ มอนเซอร์รัท ( ปานามา) ที่ เวทีมวยราชดำเนิน :

การแข่งขันมวย ครั้งที่ 4 : 1 พ.ย. 2529 ชนะน็อกยก อิสราเอล คอนเทรรัส (เวเนซุเอลา) ที่ เกาะกือราเซา หมู่เกาะเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส : (อิสราเอลคอนเทรรัส พ่ายแพ้ครั้งแรกในชีวิตการชก และได้รับบาดเจ็บซี่โครงหักต้องหยุดพักรักษาตัวนานถึง 1 ปี)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 5 : 28 ก.พ. 2530 ชนะน็อกยก 14 เอลลี่ ปิกัล ( อินโดนีเซีย) ที่สนามกีฬาแห่งชาติเสนายัน (บังการ์โน) กรุงจาการ์ตา : (เป็นการแพ้น็อกครั้งเดียวในชีวิตการชกของ เอลลี่ ปิกัล)
 
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 6 : 12 ต.ค. 2530 ชนะน็อกยก เบียง กวาง ชุง (เกาหลีใต้) ที่ เวทีมวยราชดำเนิน : (เบียง กวาง ชุง แพ้น็อกครั้งแรกในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 8 : 9 ต.ค. 2531 ชนะน็อกยก ชาง โฮ ชอย (เกาหลีใต้) ที่ กรุงโซล : (ชาง โฮ ชอย แพ้น็อกครั้งเดียวในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 7 : 26 ม.ค. 2531 ชนะคะแนน 12 ยก ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ ที่สนามมวยเวทีลุมพินี 

การแข่งขันมวย ครั้งที่ 9 : 15 ม.ค. 2532 ชนะน็อกยก แต อิล ชาง (เกาหลีใต้) ที่ ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ : (แต อิล ชาง แพ้น็อกครั้งเดียวในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 10: 8 เม.ย. 2532ชนะคะแนน 12 ยก เคนจิ มัตสุมูร่า (ญี่ปุ่น) ที่ บันกายิม เมืองโยโกฮาม่า จังหวัดคะนะกะวะ :

การแข่งขันมวย ครั้งที่ 11: 29 ก.ค. 2532 ชนะน็อกยก 10 อัลเบอร์โต้ คัสโตร ( โคลอมเบีย) ที่เวทีมวยชั่วคราว จ.สุรินทร์ : (คัสโตร แพ้น็อกครั้งแรกในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 12 : 31 ต.ค. 2532 ชนะน็อกยก 12 เคนจิ มัตสุมูร่า (ญี่ปุ่น) ที่ เวิลด์เมมโมเรียลฮอล์ เมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโงะ : (เคนจิ แพ้น็อกครั้งแรกในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 13 : 29 มี.ค. 2533 ชนะน็อกยก อาลี บลังกา (ฟิลิปปินส์) ที่เวทีมวยราชดำเนิน : (อารีบลังก้า แพ้น็อกครั้งเดียวในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 14 : 30 มิ.ย. 2533 ชนะน็อกยก ชุนนิชิ นากาชิม่า (ญี่ปุ่น) ที่เวทีมวยชั่วคราว จ.เชียงใหม่ : (นากาชิม่า แพ้น็อกครั้งแรกในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 15 : 29 ก.ย. 2533 ชนะน็อกยก คิม ยอง กัง (เกาหลีใต้) ที่เวทีมวยชั่วคราว จ.สุพรรณบุรี : (คิม ยอง กัง แพ้น็อกครั้งเดียวในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 16: 9 ธ.ค. 2533 ชนะน็อกยก เออร์เนสโต้ ฟอร์ด (ปานามา) ที่เวทีมวยชั่วคราว จ.เพชรบูรณ์ : (ฟอร์ด แพ้น็อกครั้งแรกในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 17 : 7 เม.ย. 2534 ชนะน็อกยก ปาร์ค แจ ชุค (เกาหลีใต้) ที่เวทีมวยชั่วคราว จ.สมุทรสงคราม : (แจ ชุค แพ้น็อกครั้งเดียวในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 18 : 20 ก.ค. 2534 ชนะน็อกยก เดวิด กรีแมน (เวเนซุเอลา) ที่เวทีมวยชั่วคราว ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ : (เป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกในชีวิตการชกของ เดวิด กรีแมน และเป็นการแพ้น็อกครั้งเดียวในชีวิตการชก)
การแข่งขันมวย ครั้งที่ 19 : 22 ธ.ค. 2534 ชนะคะแนน 12 ยก อาร์มันโด คัสโตร ( เม็กซิโก) ที่เวทีมวยชั่วคราว สนามเทพหัสดิน กรุงเทพ ฯ :


Share:

ประวัตินาวาตรี สมรักษ์ คำสิงห์






บ้านเกิดของ สมรักษ์ อยุ่ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นชาวหมู่บ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอเมือง เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคมพ.ศ. 2516 สมรักษ์เป็นบุตรคนกลางฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน ในจำนวนลูกทั้ง 3 คน ของ นายแดงและนางประยูร คำสิงห์   

ขึ้นชกมวยครั้งแรกตอนอายุได้ 7 ขวบ เริ่มตระเวนชกมวยตามเวทีงานวัดต่าง ๆ จนทั่ว  ณรงค์ กองณรงค์ หัวหน้าคณะณรงค์ยิมเห็นแววในการชกจึงชักชวนให้มาร่วมค่าย สมรักษ์จึงขอขึ้นชกมวยไทยในชื่อ สมรักษ์ ณรงค์ยิม และกลายเป็นนักมวยมีชื่อเสียงในแถบจังหวัดขอนแก่น  

ต่อมา ณรงค์กับนายแดงพ่อของสมรักษ์เกิดแตกคอกัน สมรักษ์จึงต้องย้ายข่ายสังกัดมวยไปอยุ่กับค่ายมวยศิษย์อรัญ เข้ามาชกมวยในกรุงเทพฯ ได้ไปเรียนที่ โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา โดยชกทั้งมวยไทย และมวยสากลสมัครเล่น สมรักษ์ขึ้นชกมวยไทยในชื่อ "พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ" แต่พอสมรักษ์ขึ้น ม.2 พ่อก็ถึงแก่กรรม
สมรักษ์เริ่มแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในนามของโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2528 ตอนอายุ 12 ปี โดยมีพิกัดน้ำหนัก 52 กก. เมื่อสมรักษ์จบ ม.6 จากโรงเรียนผดุงศิษย์ฯ ได้มีโอกาศได้รับการทาบทามจากสโมสรราชนาวีให้ชกมวยสากลสมัครเล่นในนามของสโมสรและจะบรรจุให้เข้ารับราชการในกองทัพเรือด้วย สมรักษ์จึงตอบตกลง สมรักษ์ประสบความสำเร็จได้ทั้งแชมป์ประเทศไทยและเหรียญทองกีฬาแห่งชาติ    

สมรักษ์ เข้าสู่ทีมชาติครั้งแรก ในการแข่งขันโอลิมปิก ที่บาร์เซโลนา ในปี พ.ศ. 2535 แต่ตกรอบแรก พ.ศ. 2536 ได้เหรียญทองมวยทหารโลกที่ประเทศอิตาลี แต่ไม่ได้ติดทีมชาติไปแข่งกีฬาซีเกมส์ในปีนั้นเพราะไม่พร้อม สมรักษ์เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาเป็นครั้งแรก จากการเป็นนักกีฬาไทย ที่ได้เหรียญทองเพียงคนเดียว ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2537 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น 
        ปัจจุบัน สมรักษ์ได้แต่งงานกับนางเสาวนีย์ คำสิงห์ ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ที่เรียนหนังสือด้วยกันที่จังหวัดขอนแก่น ทั้งคู่มีบุตรชาย1หญิง1ด้วยกัน ตอนนี้สมรักษ์ก็ยังคงมีผลงานในวงการบันเทิง เป็นระยะๆ มีกิจการร้านหมูกะทะชื่อ "สมรักษ์ย่างเกาหลี" ย่านเกษตร-นวมินทร์ และค่ายมวย ส.คำสิงห์

ผลงานการชกมวย

-แชมเปี้ยนนักเรียนนวมทองของโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา 5 ปี
-แชมเปี้ยนการแข่งขันมวยของกรุงเทพมหานคร 2 ปี
-เหรียญทองการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในกีฬาแห่งชาติที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
-เหรียญทองแดงการแข่งขันมวยทหารโลกที่ประเทศเดนมาร์ก
-เหรียญเงินการแข่งขันเมเยอร์คัพที่ประเทศฟิลิปปินส์
-เหรียญทองการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์เอเชียที่ประเทศอิหร่าน
-เหรียญเงินการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 ที่ประเทศไทย
-เหรียญทองการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นรุ่นเฟเธอร์เวทในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2537 ที่ฮิโรชิมา ญี่ปุ่น
-เหรียญทองการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดเชียงใหม่
-เหรียญทองการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดเชียงใหม่
-เหรียญทองการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกเกม ครั้งที่ 26 ประจำปี พ.ศ. 2539 ที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
-เหรียญทองการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานคร
-กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 25 พ.ศ. 2535 ที่บาร์เซโลนา
-กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 26 พ.ศ. 2539 ที่แอตแลนตา
-กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 พ.ศ. 2543 ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
-กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 28 พ.ศ. 2547 ที่เอเธนส์ กรีซ
Share:

Feed

Enter your email address:

Delivered by FeedBurner

ข่าวมวยล่าสุด

↑ Grab this Headline Animator

ข่าวมวย

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Translate

Labels